สรุปข่าวประจำวัน พุธ ที่21 ธันวาคม 2559
ม.ราชภัฎสงขลา อนุรักษ์ข้าวพื้นเมือง
ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์ประจ าวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล (มรภ.
สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนพร้อมคณะท างานลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล ให้ความรู้ด้าน
ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงศัตรูพืช และแนวทางการจัดระบบนิเวศวิศวกรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากที่ผ่าน
มาเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาแมลงศัตรูพืช จนส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตข้าว ท าให้พื้นที่การปลูกข้าวลดลงอย่างน่าวิตก
ด้วยเหตุนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันไปใช้สารเคมีในการท านาข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีในข้าว
และในสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังเกิดการกระตุ้นการเพิ่มประชากรของแมลง ที่ต้านทานสารฆ่าแมลงยิ่งขึ้น และการแพร่ระบาด
ของเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาลที่รุนแรงในระยะนี้
ดร.วนิดา กล่าวว่า รัฐบาลส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองเพื่ออนุรักษ์ ซึ่งในพื้นที่ จ.สตูล นั้นมีข้าวอัลฮัมเป็นข้าวพันธุ์
พื้นเมืองที่ชาวมุสลิมนิยมปลูก เนื่องจากเป็นข้าวที่มีรสชาติอร่อย หวาน มัน และอิ่มท้องได้นาน ทั้งยังเป็นพันธุ์ที่ปรับตัวต่อ
สภาพแวดล้อมได้ดี ตนจึงน าเทคโนโลยีระบบนิเวศวิศวกรรมเข้ามาจัดการนิเวศวิทยาในนาข้าว โดยให้ความส าคัญต่อการอยู่ร่วมกันของ
สิ่งมีชีวิตในนาข้าวอย่างสมดุล มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด ซึ่งได้น าวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในแปลงนาข้าว เพื่อรักษาความสมดุลของ
ระบบนิเวศในหลายพื้นที่ อีกทั้งยังสร้างความสวยงามบนคันนา และอาจเชื่อมโยงไปสู่การใช้พื้นที่นาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรมากยิ่งขึ้นอีกด้วย (บ้านเมือง 20122559)
สงขลาลงแก้โกดังข้าว หลังส่งผลกระทบ พนง.ป่วยทางเดินหายใจ
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เมื่อเวลา 10.00 น. นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผอ.ศูนย์ด ารงธรรมจังหวัดสงขลาพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วย ส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา, ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา, สำนักงานพาณิชย์
จังหวัดสงขลา และอ าเภอบางกล่ า ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีตัวแทนบริษัท เจอาร์ดี จำกัด ขอให้องค์การคลังสินค้า ซึ่งเป็น
ผู้เช่าโกดังข้าวของบริษัทฯขนข้าวสารออกจากพื้นที่เช่า หมู่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เนื่องจาก พนง.ได้รับ
ผลกระทบจากฝุ่นกระสอบข้าวจนท าให้พนักงานจำนวนหนึ่งมีอาการป่วยทั้งไอ และโรคระบบทางเดินหายใจ มีการลาป่วยบ่อยครั้ง
โดยก่อนหน้านี้เทศบาลต าบลท่าช้าง อ าเภอบางกล่ำ ได้รับการร้องเรียนเรื่องปัญหาตัวมอดจากข้าวสาร รบกวนโรงงานอุตสาหกรรมใน
พื้นที่ข้างเคียงด้วย
ภายหลังใช้เวลาในการประชุมเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันนาน 2 ชั่วโมง นายรุ่งโรจน์เปิดเผยว่า ในที่ประชุมได้มอบหมายให้
เทศบาลตำบลท่าช้าง ดำาเนินการตรวจสอบข้อมูลตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
และรายงานผลให้ศูนย์ด ารงธรรมอ าเภอบางกล่ าและศูนย์ด ารงธรรมจังหวัดสงขลาทราบ และขอให้ส านักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา
ประสานแผนการบริหารจัดการข้าวขององค์การคลังสินค้า โดยเฉพาะรายละเอียดแผนการเคลื่อนย้ายข้าว และแนวทางการแก้ไข
ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ คาดว่าจะใช้เวลาในการประสานงานข้อมูลข้างต้นประมาณ 1 เดือน
นอกจากนี้ ในส่วนปัญหาและอุปสรรคในการขนข้าวที่ล่าช้า โดยขณะนี้ขนข้าวไปได้ไม่ถึง 1 แสนกระสอบ จากข้าวที่เก็บ
รักษาในโกดังประมาณ 5 แสนกระสอบ แม้จะขนมานานกว่า 3 เดือนแล้ว โดยทางองค์การคลังสินค้าอ้างว่า มีปัญหาอุปสรรคในการ
เคลื่อนย้ายข้าวสาร อาทิ เวลาในการเข้า-ออก (08.00-17.00 น. มีพักเที่ยง) ทางเข้า-ออกของรถบรรทุกข้าวสารมีลักษณะคับแคบ ต้อง
ใช้เวลาในการเลี้ยวเป็นเวลานาน เป็นต้น ท าให้การเคลื่อนย้ายล่าช้า ซึ่งจะต้องมีการท าข้อตกลงกันระหว่างองค์การคลังสินค้ากับ
ผู้ประกอบการเจ้าของโกดัง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม จังหวัดสงขลาจะแจ้งให้องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์
ได้รับทราบปัญหาข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น และพิจารณาด าเนินการแก้ไขต่อไป(มติชน 20122559)
ผุดตลาดกลางข้าวสารระดับชาติ ก.พาณิชย์ เจรจาโรงสีร่วม เล็งแห่งแรกชานเมือง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังหารือสมาคมโรงสีข้าวไทย ว่า ได้เสนอแนวคิดให้
กลุ่มโรงสีเข้ามามีส่วนรวมในการจัดตั้งตลาดกลางค้าข้าวสาร เพื่อเป็นแหล่งค้าข้าวสารระดับประเทศ ที่เปิดให้ผู้ค้า ผู้ขาย ทั้งจากใน
ประเทศและต่างประเทศได้มีศูนย์กลางการในเจรจาซื้อขายข้าว และตอกย้ าความเป็นผู้น าผลิตข้าวคุณภาพและค้าข้าวรายใหญ่ของโลก
ซึ่งแต่ละปีไทยจะมีการส่งออกกว่า 9 ล้านตัน อีกทั้งเป็นการเพิ่มอ านาจต่อรองให้เกษตรกร และจ าหน่ายราคาข้าวได้ตามกลไกตลาดที่
เป็นธรรม ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับตลาดกลางค้าข้าวเปลือกท่าข้าวก านันทรง จ.นครสวรรค์
“ทางโรงสีก็เห็นด้วยในแนวคิดดังกล่าวและน าไปหารือก่อนมาเสนอว่าควรมีการจัดตั้งที่ใดเป็นแห่งแรก ซึ่งเบื้องต้นที่ตั้งตลาด
กลางข้าวสารแห่งแรกควรอยู่ไม่ไกลกรุงเทพฯ น่าจะเป็นจังหวัดแถบปริมณฑล เพื่อสะดวกกับการเดินทางของผู้ซื้อจากต่างชาติหรือผู้
ส่งออก และใกล้ระบบคมนาคมและขนส่ง โดยสั่งการให้กรมการค้าภายในด าเนินการโดยเร็ว “นางอภิรดี กล่าว
นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า โรงสีจะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมการ
ส่งออกข้าว ซึ่งปัจจุบันที่ไทยมีการส่งออกปีละ 9.5 ล้านตัน ส่วนนี้เป็นการส่งออกโดยธุรกิจโรงสีประมาณ 20% และเห็นด้วยใน
หลักการจัดท าตลาดกลางค้าข้าวสาร ที่ต้องดูในรายละเอียดเรื่องคุณภาพ การส่งออก และปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจค้าข้าว
ไทยก็มีการดำเนินการที่หลากหลายอยู่แล้ว
สำหรับแนวโน้มราคาข้าวในปี 2560 ข้าวเจ้าน่าจะยังทรงตัวและขยับได้เล็กน้อย ราคาส่งออกจะเคลื่อนไหวระดับ 360-400
เหรียญสหรัฐฯ/ตัน สะท้อนราคาข้าวเปลือกเจ้าในประเทศตันละ 8,500 บาท ที่น่าหนักใจคือข้าวหอมมะลิ อาจขยับตัวไม่ได้มากนัก
เพราะก าลังซื้อและการแข่งขันราคาในตลาดโลกยังสูง อีกทั้งมีเกรดข้าวที่ส่งออกแตกต่างกัน อาจท าให้ขยับราคาท าได้ยาก แต่อย่างไรก็
ตาม เชื่อว่าส่งออกข้าวปี 2560 จะยังเกิน 9 ล้านบาท(มติชน 21122559)
จ.เพชรบุรีเปิดโครงการตลาดนัดข้าวเปลือก
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่สหกรณ์ผู้ใช้น้ าหนองปรงสามัคคี จ ากัด อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานเปิดโครงการตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2559/60 มี นายวินัย นาคประดิษฐ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับ
ดูแลและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบุรี เป็นผู้กล่าวรายงาน
สำหรับการจัดโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกปีการผลิต 2559/60 จัดขึ้นเพื่อให้เกิดกลไกด้านการตลาด และเกษตรกรมี
แนวคิดในการผลิตข้าวเปลือกให้ได้คุณภาพ และมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งสร้างความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร
ในการขายข้าวเปลือกเป็นทางเลือกได้ราคาดี การจัดโครงการครั้งนี้มีก าหนดระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2559 โดย
จะมีคณะอนุกรรมการติดตามก ากับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก ากับดูแลให้การด าเนินงาน
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกร
นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีกล่าวว่า นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรที่มีทางเลือก สามารถ
จำหน่ายข้าวเปลือกได้ราคาดี สูงกว่าตลาด และได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา การชั่งน้ำหนัก ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพข้าว
อันจะเป็นการน าไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตข้าวเปลือกให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้แก่
เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น(ผู้จัดการ 21122559)